สารพิษจากเชื้อรา Mycotoxins ที่ปนเปื้อนในอาหาร

สารพิษจากเชื้อรา mycotoxins ที่ปนเปื้อนอาหาร เท่าที่ค้นพบแล้วมีประมาณ100ชนิด  สร้างโดยเชื้อราประมาณ200สายพันธุ์ 

การปนเปื้อนของสารพิษจากรา มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการผลิตอาหาร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประมาณว่า  ทั่วโลกสูญเสียอาหารที่เนื่องจากการปนเปื้อนของพิษจากราถึง100ล้านตันต่อปี  และที่สำคัญกว่านั้นก็คือมีผลต่อสุขภาพมนุษย์  ในบรรดาสารพิษจากเชื้อราที่รู้จักทั้งหมดนั้น
เชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปนเปื้อนอาหาร ได้แก่
   
1. อะฟลาท็อกซิน บี 1, บี 2 ,จี 1, จี 2 , เอ็ม 1 และ เอ็ม 2 (Aflatoxins B1, B2, G1, G2, M1 and M2)  เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษต่อตับ คือ แอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus)
สารนี้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส และถูกทำลายด้วยสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
บี (B) หมายถึง บลู (blue) คือลักษณะของสารนี้จะมีสีฟ้า
จี (G) หมายถึง กรีน (green) คือให้สีเขียว 
เมื่อดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต UV  ขนาดความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
เอ็ม (M) หมายถึงสารที่พบในน้ำนมวัว คือมิลค์ (milk) เป็นผลมาจากการบริโภคอาหารสัตว์ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน บี1
ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522  กำหนดให้มีอะฟลาท็อกซินทุกชนิดในอาหารทั่วไปได้ไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน (คือ 20 ไมโครกรัมในอาหาร1กิโลกรัม

2.  สเตอริกมาโตซิสติน (Sterigmatocystin) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ แอสเพอร์จิลลัส เวอร์ซิโคเลอร์ (Aspergillus versicolor)
 
3.  ซีราลีโนน (Zearalenone)  เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม  กรามิเนียรุม(Fusarium graminearum) เป็นพิษต่อระบบฮอร์โมน
 
4.  โอคราท็อกซิน (Ochratoxins)  เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ เพนิซิลเลียม ไวริดิคาตุม (Penicillium viridicatum) เป็นพิษต่อไต
 
5.  พาทูลิน (Patulin)  เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ  เพนิซิลเลียม พาทูลุม (Penicillium patulum) เป็นพิษต่อระบบประสาท
 
6.  ที-2 ท็อกซิน ทริโคเทซีเนส (T-2 toxin, trichothecenes) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ  ฟิวซาเรียม ตริซิงก์ตุม (Fusarium tricinctum) เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหารและอื่นๆ

สำหรับผลิตภัณฑ์จากธัญพืชทางการเกษตร มักจะพบสารพิษ Aflatoxin (อะฟลาทอกซิน) ส่วนมากสร้างมาจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus (แอสเปอร์ จิลัสฟลาวัส) และ Aspergillus parasiticus (แอสเปอร์ พาราซิติกัส) เนื่องจากการเก็บในที่อบชื้น
ในข้าวโพด เกือบทั้งหมดจะพบสารพิษเป็นแบบอะฟลาทอกซิน บีหนึ่ง (AFB1) ซึ่งเป็นสารก่อกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งตับปนเปื้อนอยู่  ส่วนแบบอะฟลาทอกซิน บีสอง (AFB2) มีพิษน้อยและพบอยู่เล็กน้อย
 
แต่ ในถั่วลิสง สารพิษส่วนมากจะเป็นแบบอะฟลาทอกซิน บีหนึ่ง (AFB1) และพบ AFG1, AFG2 ได้ด้วย
 
หากไม่มีการควบคุมอะฟลาทอกซินจะก่อปัญหาด้านสุขภาพของสัตว์และคน ความรุนแรงของพิษที่ได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณของ อะฟลาทอกซินที่คนและสัตว์ได้รับเข้าไป และยังก่อปัญหาทางด้านอื่นๆ อีกหลายประการ
 
สำหรับการตรวจวัดหา Aflatoxins ในอาหารธัญพืชและผลิตภัณฑ์ทางอาหารมีหลายวิธี อาจใช้วิธีทางเคมี เช่น

โครมาโทรกราฟีผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) หรือ
โครมาโทรกราฟีสมรรถนะภาพสูง (High-Performance Liquid Chromatography,HPLC) โดยใช้คอลัมน์และความดันร่วม หรือ 
สเปคโตรเมตรีแยกมวลสาร (Mass Spectrometry)

แต่ทั้ง3วิธี ดังกล่าวไม่สามารถแยกความจำเพาะต่อชนิดของอะฟลาทอกซิน ผลที่ได้อาจขาดความแน่นอนและความไว การวิเคราะห์ต้องทำสารตัวอย่างให้สะอาด (clean up) บริสุทธิ์เสียก่อน มีขั้นตอนมาก ทำให้เสียเวลา และ ค่าใช้จ่ายสูงประกอบกับเครื่องมือวัดในการตรวจสอบ ล้วนแต่ราคาแพงต้องใช้ บุคลากรที่มีความรู้และทักษะเป็นอย่างดี
 
ดังนั้นวิธีการตรวจคัดกรองธัญพืชอย่างรวดเร็ว โดยเทคนิคอีไลซ่า Enzyme Linked Immunosorbent Assay (ELISA) แบบแถบสตริป LFD ที่มีความไว มีความจำเพาะสูง และ ราคาประหยัด เหมาะสม ที่จะนำมาไปใช้ในสถานที่ต่างๆ นอกห้องปฏิบัติการ (On-site) ตรวจได้สะดวก และ ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะเป็นอย่างดี มีคุณภาพที่เชื่อถือ  นำไปใช้โดย ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับ เกษตรกรผู้เพาะปลูก โรงงานปลอกเปลือก พ่อค้ารับซื้อผลิตภัณฑ์ โรงงานคัดแยก โรงานแปรรูปอาหาร ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนการเก็บเกี่ยว


 

Visitors: 131,935