Standard Precautions หลักปฏิบัติป้องกันการติดเชื้อ

ข้อปฏิบัติย่อตามหลักการ Standard precautions และ Additional precautions กับห้องผู้ป่วยติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ

1.  สวมถุงมือ หรือ ล้างมือด้วยสบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อหลังจับต้องดูแลผู้ป่วย หรือ สัมผัสเลือด,สารคัดหลั่ง
2.  การป้องกัน sharp / needlesteck  injuries มีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เข็ม,ของมีคม และต้องมี  sharp  container  ในบริเวณที่ใช้ของมีคม
3.  มีมาตรการสำหรับเครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย ควรใช้เครื่องมือที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง  เครื่องมือที่ใช้ซ้ำได้ ต้องแยกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยไม่ปะปนกับบุคคลอื่น เช่น Stethoscope  การทำความสะอาดเครื่องมือต่างๆ แยกตามลักษณะเครื่องมือที่เป็น critical items,semicritical items และ noncritical items

4.  มีข้อปฏิบัติสำหรับผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย  เก็บผ้าที่ใช้แล้วของผู้ป่วยภายในห้องแยกผู้ป่วย, ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย  บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผ้าต้องสวมใส่ เครื่องป้องกันร่างกาย (PPE)
5.  ห้องแยกผู้ป่วย  ให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเดี่ยว ซึ่งมีห้องน้ำในตัว   ควรมี anteroom เพื่อใช้เก็บ ใส่-ถอด PPE และมีอ่างล้างมือ/น้ำยาล้างมือแห้ง ห้องแยกควรเป็น negative  air pressure อากาศถ่ายเทได้อย่างน้อย12 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง( ACH ), ทิศทางการไหลของอากาศจาก บุคลากรสู่ผู้ป่วย, มีการติดตั้งHEPA  filter และ มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงUV สำหรับอากาศที่หมุนเวียนในห้องและอากาศที่จะปล่อยออกสู่ภายนอก (หากไม่มีห้องที่ได้มาตรฐานดังกล่าวให้ใช้พัดลมดูดอากาศ  ไม่น้อยกว่า 12 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง) โดยให้ดูดทิ้งสู่บริเวณที่ไม่มีผู้คนเดินผ่านหรือต่อปล่องขึ้นไปเหนือหลังคาอาคาร ห้องผู้ป่วยและ anteroom ต้องปิดประตูตลอดเวลา มีบานกระจกใสที่ทำให้สามารถ สังเกตอาการผู้ป่วยจากภายนอกหรือติดโทรทัศน์วงจรปิด เป็นห้องที่สามารถให้การรักษาแบบวิกฤตได้คือมี Oxygen  pipeline ,suction

6.  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องจำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องต้องสวมsurgical  mask  และให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายต้องสวม PPE, มืการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ให้ผ่านไปยังบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น, เช็ดทำความสะอาดรถเข็นผู้ป่วยหรือภายในห้องโดยสาร รถที่ขนส่งด้วย 70 % Alcohol

7.  เครื่องป้องกันร่างกาย ( PPE) ใช้สำหรับบุคลากรทุกระดับทีปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ซึ่ง ในการดูแลผู้ป่วยตามปกติใช้เครื่องป้องกันร่างกาย  ดังนี้ ถุงมือ  1 ชั้น,US  NIOSH Certified N95 mask,กาวน์ผ้าแขนยาว ( long – sleeved  cuffed  gown ) อาจใช้กาวน์กันน้ำในกรณีที่ทำกิจกรรมที่มีการกระเซ็นของเลือด , สารคัดหลั่งจำนวนมาก, เครื่องป้องกันตา ( goggles หรือ  face  shields ) สำหรับกรณีที่ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่นการใส่ท่อช่วยหายใจ, bronchoscope, autopsy, การพ่นยา, การดูดเสมหะให้เพิ่มเครื่องป้องกันร่างกาย คือ กาวน์กันน้ำแขนยาว (ใช้แทนกาวน์ผ้าแขนยาว) พร้อมหมวกคลุมผม

8. Waste  Disposal เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับขยะ ต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกายตามข้อ7. ซึ่งกอย่างในห้องแยกโรคถือเป็นขยะติดเชื้อ ภาชนะรองรับถุงขยะเป็นภาชนะมีฝาปิดซึ่งทำการปิดเปิดโดยใช้เท้า ( Foot  operated ) มีถุงรับขยะ2ชั้น ไม่มีการปนเปื้อนก่อนขนย้ายออกสู่ภายนอก ซึ่งจะกำจัดขยะโดยวิธีการเผา ส่วน waste เช่น  ปัสสาวะ, อุจจาระ สามารถเททิ้งในโถส้วม เพื่อเข้าสู่ระบบกำจัดน้ำเสีย ของสถานพยาบาลตามปกติ

9. Cleaning  and  Disinfection การทำความสะอาดห้องประจำวันทำอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง  โดยเน้น พื้นผิวแนวระนาบ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ผู้ป่วย , อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจับต้องบ่อย ๆ ,ห้องน้ำ  โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามปกติ  เครื่องใช้สำหรับทำความสะอาดให้แยก  ใช้เฉพาะห้องนั้นไม่ปะปนกับที่ใช้สำหรับบริเวณอื่น

Disinfectants  สำหรับ  Influenza  virus  คือ 1 %  Sodium  hypochlorite และ 70 % Alcohol  (Isopropyl , Ethyl , Methylated  spirit ) หากพื้นผิวปนเปื้อนด้วยเลือด, สารคัดหลั่งให้เช็ดสิ่งปนเปื้อนออกให้มากที่สุดด้วยกระดาษทิชชู  แล้วราดด้วย 1 %  Sodium  hypochlorite  ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วเช็ดถูด้วยน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ หากเป็นพื้นผิวโลหะ, พื้นผิวเรียบ เช่น โต๊ะ,หรือพื้นผิวที่ใช้  Sodium  hypochlorite ไม่ได้ให้ใช้ 70 %Alcohol  แทน

การทำความสะอาดเมื่อจำหน่ายผู้ป่วย ( Terminal cleaning )ในกรณีของห้องที่มีการถ่ายเทอากาศมากเท่าหรือเท่ากับ 12 ACHให้เริ่มทำความสะอาดหลังจำหน่ายผู้ป่วยประมาณครึ่งชั่วโมง หากมีระบบการกรองอากาศหรือพัดลมดูดอากาศให้ยังคงเปิดระบบไว้ตลอดตั้งแต่จำหน่ายผู้ป่วย,ขณะทำความสะอาดและหลังทำความสะอาด อย่างน้อยอีกครึ่งชั่วโมงจึงจะรับผู้ป่วยคนต่อไปได้

10.คำแนะนำสำหรับบุคลากร จำกัดบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยให้มีจำนวนเท่าที่จำเป็น, เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมและฝึกซ้อมมาแล้วในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักการของ infection control, ควรได้รับภูมิคุ้มกันสำหรับ Human Influenza  มาไม่น้อยกว่า 2สัปดาห์ก่อนปฏิบัติงาน ,มีการลงนาม, วัน-เวลา ที่เข้ามาปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วย, ห้ามบุคลากรที่มีอาการไข้หรืออาการป่วยของระบบทางเดินหายใจเข้าไปปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วย

บุคลากรที่เข้าไปปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วย  ควรสังเกตอาการไข้โดยวัดอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง และอาการผิดปกติอื่นๆ ของตนเองทุกวันจนพ้นระยะ 7 วันหลังเข้าปฏิบัติงานครั้งสุดท้าย

11คำแนะนำสำหรับญาติผู้ป่วย  คือ จำกัดการเยี่ยมเฉพาะที่จำเป็น  มีสมุดบันทึกรายชื่อญาติที่เข้าเยี่ยมและวันเวลาที่เข้าเยี่ยม, ห้ามผู้ที่มีอาการไข้หวัดเข้าเยี่ยมโดยเด็ดขาด, ญาติต้องสวมPPE เช่น เดียวกับบุคลากร, มีคำแนะนำให้ปฏิบัติตาม standard  precautions  และ additional precautions  อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยใกล้ชิด, สัมผัสเลือด, สารคัดหลั่ง,mucous membrane และผิวหนังที่มีบาดแผลของผู้ป่วย, มีคำแนะนำให้ผู้เข้าเยี่ยมสังเกตอาการตนเองว่ามีไข้, อาการผิดปกติระบบทางเดินหายใจหรือไม่หลังเยี่ยมครั้งสุดท้ายภายใน 7 วัน หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์

12.คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติเรื่องการทำความสะอาดมือ (Hand Hygiene)  อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการติดต่อของโรค, ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย (Surgical  mask) หากทำไม่ได้ ให้ใช้กระดาษทิชชู ปิดปาก, จมูก  เวลามีอาการจามหรือไอ

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน และให้หยุดงาน หรือหยุดเรียน จนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อของโรค(ระยะการติดต่อของโรค คือ ตั้งแต่ เริ่มมีอาการ จนพ้นระยะ 7-21 วัน หลังไข้ลง)

 13.ถ้าต้องการจัดการเกี่ยวกับศพ บุคลากรที่จัดการเกี่ยวกับศพต้องปฏิบัติตาม Standard  Precautions  อย่างเคร่งครัด, สวมเครื่องป้องกันร่างกาย เช่น เดียวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วย, หากจะฉีดยาศพต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งและบุคลากรต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย, บรรจุศพในถุงห่อหุ้มศพที่ทำด้วยวัสดุกันน้ำ, เช็ดด้านนอกถุงด้วย 70 % Alcohol ก่อนนำออกจากห้องผู้ป่วย,นำศพไปฝังหรือเผาโดยเร็ว หากญาติหรือบุคคลใดจะแตะต้องศพต้องสวมกาวน์และถุงมือ

14. ในการผ่าพิสูจน์ศพ (Autopsy ) บุคลากรต้องสวมใส่กาวน์กันน้ำ, N- 95 mask หรือระดับสูงกว่า, แว่นป้องกันตา ( goggles ) , ถุงมือ , หมวกคลุมผม โดยกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยจำกัดบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด, ใช้อุปกรณ์ให้น้อยที่สุดหากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียว,การส่งต่ออุปกรณ์ต้องใช้ถาดเพื่อป้องกัน Sharp injuries,หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดฝอยละออง ซึ่งหากต้องก่อให้เกิดฝอยละออง ควรทำใต้น้ำ ระวังการกระเซ็นของสารคัดหลั่งจากปอด



 


 
Visitors: 132,135