เครื่องวัดสารกัมมันตรังสี สารไนเตรท แบบเร่งด่วน ในผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา ปลา น้ำ

เครื่องทดสอบสารรังสี สารไนเตรต แบบพกพา ใช้ง่าย ในการทดสอบความปลอดภัยในอาหาร แสดงผลเร่งด่วน ในเวลา 3วินาที เพิ่มความมั่นใจในการบริโภคผัก ผลไม้ หรือ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา

 ..เหมาะสำหรับ ใช้ตรวจวัดเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ที่จุดซื้อขายสินค้า ผักสด ผลไม้ ฟาร์ม ตลาด โรงงาน HACCP/GMP งานตรวจคุณภาพวัตถุดิบ ก่อนดำเนินการผลิตน้ำผักผลไม้ ฯ 

สำหรับตรวจผักผลไม้  เนื้อ ปลา หรือ สารปนเปื้อนรังสี ( Option - Temp., Humid.) 

มีช่วงการวัดไนเตรตมีความถูกต้องสูง คลาดเคลื่อนไปไม่เกิน± 10% ณ ที่อุณหภูมิ 0 ถึง 60องศาเซลเซียสและความชื้น 0-100%RH

ใช้ในเวลาการวัดเพียง 3วินาที พร้อมแสดงค่า และ ระดับสีบอกความเหมาะสมในการบริโภค พร้อมด้วยระดับสารไนเตรตที่ปลอดภัย  
 
แหล่งพลังงาน โดยการชาร์จ Lithium Battery ผ่าน USB เพื่อใช้งานได้นาน

พกพาง่าย น้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะมือถือ

วัดปริมาณไนเตรตใน: ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา

ช่วงการวัดไนเตรต: 0 - 9,999 มก./กก

ช่วงรังสี : 0 - 9.99usv/h (999.9ur/h)

ช่วงความกระด้างของน้ำ: 0 - 9,999mg/L

ระยะเวลาการวัด: 3 วินาที

ความผิดพลาดในการวัด: <10%

แหล่งจ่ายไฟ: แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ความจุแบตเตอรี่ : 720 มิลลิแอมป์

กระแสชาร์จ USB: 310mA

แหล่งจ่ายไฟ USB: 5V

เวลาทำงานสูงสุด: สูงสุด 20 ชั่วโมง

ความละเอียดการแสดงผลสี TFT: 320*240

อุณหภูมิในการทำงาน: 0 ถึง +60 องศาเซลเซียส

ขนาด  กxยxส: 122x52x14 มม.

น้ำหนัก : 90 กรัม

 

อันตรายจากสารไนเตรต

NO3- สารไนเตรต เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารกันเสีย โดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า หากได้รับสารเหล่านี้มากและสะสมเรื่อยๆ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 

การรับสารไนเตรตมากเกินไป สารไนเตรตจะถูกแบคทีเรียในกระเพาะอาหารและลําไส้เปลี่ยนให้เป็นไนไตรต์ ทําให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (methemoglobin) ไม่สามารถนําพาออกซิเจนไปใช้ได้ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ หายใจไม่ออก ตัวเขียว หัวใจเต้นเร็ว เป็นลมและหมดสติในที่สุด อาการนี้เป็นอันตรายมากหากเกิดในเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีภาวะซีดหรือมีปัญหาโรคเลือด

 

นอกจากนี้หากได้รับสารไนเตรต-ไนไตรต์ปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานานๆ จะเกิดพิษเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โดยสารไนไตรต์จะทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนในอาหาร ร่วมกับสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดสารไนโตรซามีน Nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตับอ่อน ทางเดินหายใจ กระเพาะปัสสาวะ ตับ ไต กระเพาะอาหารและลำไส้

 

กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ โซเดียมไนไตรต์ และโซเดียมไนเตรตในอาหารมีได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 

Visitors: 145,313