อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม


วิธีการทดสอบในทางห้องปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอาหาร โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3-4 ด้าน ได้แก่
 
1) ด้านการตรวจสอบทางกายภาพ เป็นการตรวจสอบโดยประสามสัมผัส และ คุณภาพทางด้านสี เช่น การวัดสี จากเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง ตลอดจนตรวจหาเศษสารปะปนต่างด้วย Liquid Detector
 
2) ด้านการตรวจสอบทางเคมี เป็นการตรวจสอบทางเคมีถึงองค์ประกอบต่างๆของอาหาร รวมไปถึงการหาสมบัติทางเคมีบางอย่าง เช่น วัด pH ความเป็นกรด-ด่าง ค่าความหวาน ความเค็ม เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ยังยังต้องตรวจหาสารอันตรายบางชนิดที่ปนเปื้อนในวัตถุดิบหรืออาจเกิดจากจากขบวนการผลิต เช่น 
 
•Glyphosate สารกำจัดวัชพืช จากในแหล่งน้ำ
•ตรวจหาโลหะหนัก Heavy metal เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู สารประกอบไซยาไนด์ 
•ตรวจสารพิษจากสาหร่าย Algal toxin เป็นต้น
 
3) ด้านการตรวจสอบทางจุลชีววิทยา เป็นการตรวจสอบคุณภาพ ที่บ่งขี้ถึงความสะอาด ไร้เศษอาหารดั่งเดิมตกค้างจากการผลิตก่อนหน้า และ แสดงถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ จากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นอันตราย ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด* เช่น
 
•*ตรวจวัดจำนวนรวม CFUs ของเชื้อแบคทีเรียรวมทั้งหมด Total Bacteria Count  
•*ตรวจหาระดับ MPN ของเชื้อ E. coil และ Total Coliforms  
•*ตรวจหาจำนวนเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อ  S. aureus , B. cereus
 
   ตลอดจนยืนยัน การตรวจสอบเครื่องจักรการผลิต แบบ CIP ในการตรวจติดตามทางด้านสุขอนามัย Hygiene Test ด้วยการวัด ระดับ RLUs จากเครื่อง ATP meter

4 ) ใหม่ การทดสอบด้านสารรังสี 
 
Visitors: 109,311